จำนำรถ แบบจอด
25/09/2020
รายละเอียด:
การขายฝาก คืออะไร
การขายฝาก คือ การซื้อขายอย่างหนึ่งซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อ ฝากทันทีแต่มีข้อตกลงว่า ผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ภายในเวลาที่กำหนดทรัพย์สินใด ขายฝากได้บ้าง ทรัพย์สินทุกชนิดขายฝากได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน รถยนต์ เรือ นาฬิกา แต่การซื้อขายทรัพย์บางอย่างต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
อยากกู้แต่กู้ไม่ได้ อยากได้เงินมาหมุนเวียนทำธุรกิจ หรืออื่นๆ เพราะสถาบันการเงินต้องตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้, แหล่งที่มาของรายได้ และอื่นๆ ตามหลัก 5 C’s ซึ่งหากผู้จะกู้มีคุณสมบัติไม่ครบโอกาสได้รับตำแหน่ง ลูกหนี้เงินกู้ยืมธนาคาร เป็นไปได้ยากมาก
แต่ถ้าคุณยังมีทรัพย์สินชิ้นสำคัญที่เรียกว่า “อสังหาริมทรัพย์” ซึ่งในยามปกติสามารถสร้างรายได้ให้กับเราในรูปของการให้เช่าเพื่อเก็บค่าเช่า, หรือขายในเวลาที่อสังหาริมทรัพย์ปรับตัวขึ้น แต่ในครั้งนี้เราสามารถนำ “อสังหาริมทรัพย์” ที่เรามีมาใช้ในการหาแหล่งเงินกู้ยืมระยะสั้น โดยไม่ต้องถูกตรวจสอบสินเชื่ออย่างหนัก ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน เพียงแค่นำอสังหาริมทรัพย์ที่มีไปขายฝากให้กับนักลงทุน หรือที่เรียกกันว่า “ผู้รับซื้อฝาก” นั่นเอง แต่ก่อนจะหาเงินระยะสั้นด้วยวิธีนี้เราต้องรู้ที่มาที่ไปให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ
ขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นตกแก่ผู้ซื้อ เพียงแค่มีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยการขายฝากจะต้องทำสัญญา ณ กรมที่ดินเท่านั้น
อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิดสามารถนำมา ขายฝากได้ เช่น บ้าน ที่ดิน อพาร์ทเมนท์ คอนโด ฯลฯ
เมื่อเป็นการขายเท่ากับว่า จะต้องเสียภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ ครบถ้วน ไม่หายหกตกหล่น ดังนั้น ผู้ขายฝากจะต้องคำนึงถึงภาษี และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องจากการขายฝากให้ดี เพราะเท่ากับว่าเงินที่ได้รับมาส่วนหนีงจะต้องถูกนำไปชำระภาษี และค่าธรรมเนียม
เงื่อนไขสำคัญของการขายฝาก คือจะต้องกำหนดระยะเวลาไถ่คืน ซึ่งผู้ซื้อฝากและผู้ขายฝากสามารถตกลงระยะเวลาไถ่ถอกันเองได้ แต่จะเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ และมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องดังนี้
ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับผู้ขายฝากก็ได้ เพราะหากไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์จากการขายฝากได้ตามกำหนด ผู้รับซื้อฝากสามารถดำเนินการโอนแก้ทะเบียนว่า “หลุดเป็นสิทธิ์” ได้เลยโดยไม่ต้องฟ้องดำเนินคดีใดๆ ดังนั้นก่อนขายฝากให้พิจารณาความสามารถในการไถ่ถอนทรัพย์จากการขายฝากให้ดี รวมถึงเรื่องการขยายเวลาหากเกิดปัญหาข้อติดขัดทางการเงินจะได้ไม่ต้องเสียทรัพย์สินโดยไม่ทันตั้งตัว
สำหรับการไถ่ถอนทรัพย์จากการขายฝาก หากผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนได้ภายในกำหนดแต่ผู้รับซื้อฝากคิดจะบ่ายเบี้ยงไม่ยอมให้ไถ่ถอน เรื่องนี้ไม่ต้องกังวล เพราะผู้ฝากขายสามารถไปวางเงินไถ่ถอนได้ที่ สำนักงานวางทรัพย์กลาง หรือ ส่วนภูมิภาค หรือศาลประจำจังหวัด ซึ่งหากดำเนินการได้เรียบร้อยจะทำให้ทรัพย์ที่ขายฝากกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของท่านทันที
สัญญาขายฝากแม้จะถือเป็นการขาย แต่มีเงื่อนไขคือผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนคืนได้ภายในกำหนด ดังนั้นผู้รับซื้อฝากจะนำ บ้าน ที่ดิน ที่อยุ่ในสัญญาขายฝากมาขายหรือโอนไปให้ผู้อื่นไม่ได้โดยเด็ดขาด! นอกจากจะขายคืนให้ผู้ขายฝากเท่านั้น
แต่หากเกิดข้อผิดพลาดทางเทคนิคผู้ซื้อฝากฝ่าฝืน นำบ้าน ที่ดินนี้ไปขาย ผู้ขายฝากสามารถเรียกค่าชดใช้ได้เต็มจำนวนตามราคาขายฝาก แต่เหตุการณ์เหล่านี้โดยหลักการแล้วไม่น่าจะเกิดขึ้น
โดยปกติแล้ว ผู้ซื้อฝากและผู้ขายฝากมักจะกำหนดราคาสินไถ่หรือราคาซื้อคืน ตั้งแต่ทำสัญญาขายฝาก ณ กรมที่ดิน ซึ่งกำหนดไว้ว่าราคาไถ่ถอนจะต้องไม่เกินราคาขายฝาก + ผลประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี
แต่ในความเป็นจริง ผู้ซื้อฝาก อาจจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ เช่น
นอกจากนี้ เนื่องจากการขายฝาก ถือเป็นการขาย ทำให้ผู้ขายฝากต้องชำระค่าภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากเปรียบกับการกู้ยืมเงินโดยการจำนนอง จะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าค่อนข้างมากเลยทีเดียว แต่ถือเป็นทางเลือกนึงของผู้ที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อตามระบบปกติ ยังไงก็ลองพิจารณาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจจะได้ไม่ต้องปวดหัวในภายหลัง
Tel : 098-111-2311 , 098-111-3211
Line: @baanleasing
IG:www.instagram.com/baanleasing/
Twitter: twitter.com/baanleasing
Facebook: web.facebook.com/Baanleasing/
Pinterest: www.pinterest.com/baanleasing/
#รับจำนอง #ขายฝาก #จำนองบ้านและที่ดิน #รับฝากขายบ้านและที่ดิน #รับฝากขายคอนโด #รับฝากขายโรงแรม #รับจำนองและฝากขายอสังหาทุกชนิด
ทิ้งข้อความไว้